เว็บไซต์หลักของเรา www.cordontree.com คลิ๊กด้านล่าง

คอดนตรี ข่าวสารวงการดนตรี เพลง ข่าวคอนเสิร์ต ทั้งในและนอกประเทศ คอดนตรี คอร์ดเพลง เนื้อเพลง หานักร้อง หานักดนตรี หาเพื่อนเล่นดนตรี

วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554

การดรอปสายกีตาร์(Guitar Dropped )

    การดรอปสาย นั้นก่อนอื่นต้องรู้ก่อนนะครับว่าเพลงที่เราจะเล่นนั้นต้องดรอปสายไหนเสียงอะไรบ้างดรอปเป็นคีอะไไรแล้วแต่เราจะดรอปครับมีอยู่หลายวิธีเหมือนกันครับในการดรอป
1.ถ้าเรามีเครื่องตั้งสายซึ่งมีประโยชน์มากๆก็ตั้งเลยครับสมมุติจะดรอปสายให้เป็นคีย์ Eb คือดรอปลงสายละครึ่งเสียงทั้งหมดเราก็ดรอปเลยมันมี6สายก็ดรอปให้หมดเราก็ตั้งสายเลยดีดแล้วเครื่องมันจะบอกเองถ้าตรงก็ไอเคแล้ว

drop Eb

Eb ------------------------- 1
Bb ------------------------- 2
Gb ------------------------- 3
Db ------------------------- 4
Ab ------------------------- 5
Eb ------------------------- 6

หรือสมมุติเราจะดรอปเป็นคีย์ D ก็หมุนลงมาอีกหนึ่งเสียงจากเสียงปกติ เฉพาะสาย6แค่สายเดียวสายอื่เหมือนเดิมนะครับไม่ต้องหมุน

drob D วงร็อคทั่วไปชอบดรอปกันครับ

E สาย 1
B สาย 2
G สาย 3
D สาย 4
A สาย 5
D สาย 6

และถ้าดรอปครึ่งเสียงและดรอปสาย 6 ลงอีกก็จะเป็นแบบด้านล่างนะครับส่วนมากวงที่เล่นเพลงหนักๆจะดรอปกัน

Ebสาย 1
Bbสาย 2
Gbสาย 3
Dbสาย 4
Abสาย 5
Dbสาย 6

ส่วนมากก็จะดรอปกันแค่นี้ครับที่เห็นทั่วไปแบบอื่นๆไม่ค่อยเห็น

2.ถ้าไม่มีเครื่องตั้งก็อยู่ที่หูใครหูมันแล้วครับเทียบเสียงเอาเองเลย

สไตล์ต่างๆของการเล่นกีตาร์(Guitar Style)

    สไตล์การเล่นกีตาร์นั้นผมจะมาแนะนำให้รู้กันนะครับซึ่งมีอยู่หลายสไตล์ด้วยกันและสไตล์นั้นๆยังแยกออกเป็นสไตล์ย่อยๆได้อีกมากมายนะครับที่เรารู้จักส่วนมากจะมี คลาสสิก ร็อค โฟล์ค เป็นต้น โดนเฉพาะแนวร็อคคงรู้จักกันเป็นอย่างดีเพราะเป็นแนวที่วัยรุ่นชอบฟังกันและในประเทศไทยก็มีวงร็อคต่างๆมากมาย มาดูกันเลยดีกว่าครับว่ามีสไตล์อะไรกันบ้าง

1.แนวคลาสสิก ถือเป็นแนวที่เก่าแก่ที่สุดของกีตาร์มัเล่นในหมู่ชนชั้นสูง (หมายถึงสมัยก่อน) มีรูปแบบการเล่นที่สวยงาม ท่วงทำนองไพเราะมากสามารถเล่นได้ทั้งริทึ่ม การเล่นโซโล การเล่นประสานได้ในตัวเดียว เพลงคลาสสิกจะถูกแต่งขึ้นอย่างปราณีต ดังนั้นจึงค่อนข้างจะยากสำหรับผู้ที่คิดจะหัดเอง เนื่องจากต้องสามารถอ่านและเข้าใจโน็ตดนตรีเป็นอย่างดี รวมถึงการอ่านจังหวะและสัญลักษณ์ทางดนตรีต่างๆ และที่สำคัญราคาในการเรียนค่อนข้างสูง ทำให้คนทั่วๆ ไปอาจไม่สามารถจะไปเรียนได้
บลูกล๊าสสไตล์ เป็นดนตรีพื้นบ้านมักมีการเล่นร่วมกับ แบนโจ ไวโอลิน ใช้กีตาร์ตัวนึงเป็นริทึ่ม อีกตัวใช้โซโล จังหวะสนุกสนาน เป็นเพลงบรรเลง หรือมีคนร้องด้วย
ฟิงเกอร์สไตล์ คือการเกาหรือเล่นกีตาร์ด้วยนิ้วนั่นเองอาจจะเล่นตัวเดียวหรือ 2 ตัวประสานกัน มีความละเอียดในการเล่นมากพอสมควรเล่นค่อนข้างยาก ต่างกับบลูกล๊าสที่มักใช้ปิคมากกว่าเช่น chet atkins ,doc watson เป็นต้น
โฟล์คสไตล์ เป็นดนตรีพื้นบ้านที่มีการเล่นที่อาจจะเป็นการเกากีตาร์ การใช้ปิคดีด การเล่นประสานกันตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป มีการร้องประสานเสียงกันส่วนมากจะกล่าวถึงชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันทั่วไป เช่น peter paul & mary
                    จริงแล้วทั้ง หมดรวมเรียกว่าเป็นสไตล์โฟล์ค ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจในความแตกต่างกันมากนักเท่าที่ผมได้รู้มานั้น ส่วนใหญ่บลูกล๊าสจะเป็นเพลงบรรเลง และฟิงเกอร์สไตล์ด้วยเช่นกัน แต่บางครั้งก็มีการร้องประกอบด้วย

2.บลูส์สไตล์ กำเนิดจากชนผิวดำที่เป็นทาสได้รับเอาเครื่องดนตรีชนิดนี้มากและพัฒนาเข้ากับดนตรีแบบของเขา ซึ่งส่วนใหญ่ในยุคแรกจะเป็นเพลงที่เศร้าเนื่องจากบรรยายถึงความเหนื่อยยากที่เป็นทาส และดนตรีบลูส์นี้เองเป็นพื้นฐานที่สำคัญของดนตรีอีกหลายประเภทเหลือเกินตั้งแต่ แจ๊ส โฟล์ค รวมไปถึงร็อคอีกด้วย สามารถแบ่งคร่าวๆ เป็น
อาคูสติกบลูส์ คือใช้กีตาร์โปร่งเล่นนั่นเองซึ่งในยุคแรกก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ จะมีการผสมผสานระหว่างการใช้ปิค และนิ้วร่วมกันในการดีด นอกจากนี้อาจมีการใช้สไลด์เล่นอีกด้วย เช่นในชุด unplug ของ eric clapton
อีเล็คทริกบลูส์ เป็นยุคหลังที่มีกีตาร์ไฟฟ้าแล้ว จึงมีการนำดนตรีบลูส์มาเล่นกับกีตาร์ไฟฟ้ามีการโซโลที่ไพเราะและหนักแน่น เช่นแบบ BB. King หรือ Robert cray

3.แจ๊ส เป็นอีกสไตล์ที่พัฒนามาจากบลูส์ซึ่งรายละเอียดในการเล่นจะยากขึ้นไปกว่าดนตรีบลูส์ และมีทั้งแบบอาคูสติกและิเล็คทริกเช่นกัน เช่น Larry Carlton เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสไตล์อื่นที่มีลักษณะของแจ๊สอยู่ได้แก่
 - Bossanova ซึ่งที่ดังมากได้แก่ Antonio Calos Jobim กับเพลง Girl from ipanema เป็นต้น
 - Samba หรือ สไตล์ประจำของบราซิล ซึงมีโครงสร้างคล้ายกับดนตรีแจ๊สเช่นกัน

4.ป๊อปสไตล์ ก็คือสไตล์ที่เล่นกับเพลงป๊อปหรือเพลงทั่วๆ ไป

5.ร็อคสไตล์ มีการพัฒนามาจากบลูส์เช่นกันมีความหนักแน่นในจังหวะและท่วงทำนอง และมีการเล่นที่น่าสนใจทั้งการโซโล ที่มีลูกเล่นเทคนิคมากมาย การปรับแต่งเสียงของกีตาร์ การใช้เอฟเฟ็คต่างๆ จึงเป็นที่นิยมและคลั่งไคล้ของกลุ่มวัยรุ่น อยากเก่งเหมือนนักกีตาร์ร็อคดังๆ ซึ่งร็อคอาจแบ่งไดเป็น
 - บลูส์ร็อค เป็นการผสมระหว่างเพลงบลูส์กับร็อค เช่น แบบ Gary Moore หรือ Stevie ray Vaughan เป็นต้น
 - โฟล์คร็อค มีการผสมผสานกันของเพลงโฟล์คกับร็อค เช่น Eagles เป็นต้น
 - นีโอคลาสสิก เป็นการนำเอารูปแบบของดนตรีคลาสสิกมาผสมผสานกับดนตรีร็อค ซึ่งตอนนี้เป็นที่สนใจอย่างมาก ผู้ที่บุกเบิกทางนี้ได้แก่ Randy Rhoad ซึ่งเสียชีวิตไปแล้วแต่ปัจจุบันคุณจะรู้จัก นีโอคลาสสิก กับ Yngwie Malmsteen หรือ Vinnie Moore เป็นต้น
 - เฮฟวี่เมทัล พัฒนาไปจากดนตรีร็อคมีความหนักหน่วงขึ้นเช่น Metallica , Megadeath เป็นต้น เมทัลยังมีอีกมากมายหลายสไตล์ที่แยกออกไปนับไม่ถ้วนครับ

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก http://writer.dek-d.com/Writer/story/viewlongc.php?id=264823&chapter=15
                   

วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554

กีตาร์(Guitar)ทรงต่างๆ

    กีตาร์นั้นนะครับมีอยู่หลายทรงด้วยกันซึ่งแต่ละทรงนั้นจะมีจุดเด่นจุดด้อยต่างกันเพราะแต่ละทรงจะใช้เล่นในแนวเพลงที่แตกต่างกันไปวันนี้ผมจึงหากีตาร์ทรงต่างๆมาให้เพื่อนได้รู้จักกันส่วนคนที่รู้จักแล้วก็ไม่เป็นไรครับเอาไว้ให้คนที่ยังไม่รู้จักดูเพื่อเป็นการช่วยในการตัดสินใจในการเลือกซื้อหรือเลือกเล่นว่าเราจะเล่นแนวไหนที่พอจะรู้จักกันทั่วไป ก็จะมีหลักๆนะครับ เอาเป็นของกีตาร์โปร่งก่อนนะครับ


กีตาร์โปร่ง


1. Drednaugh พวก Martin, Yamaha หรือทรงยอดฮิตทั่วไป

2. Auditorium มักจะเป็นยี่ห้อ Taylor หรือ Takamine รุ่นสูงๆ


























3. Jumbo อันนี้ไม่ค่อยมีคนเล่นเท่าไหร่

































กีตาร์ไฟฟ้า


มีหลายทรงมากแต่จะเอาที่คนส่วนใหญ่รู้จักแล้วกันนะครับ


1.ทรง Stratocaster หรือทรงมาตรฐาน เห็นบ่อยที่สุด เรียกย่อๆ ว่า Strat



2.ทรง Telecaster หรือเรียกง่ายๆ ว่า Tele

3.ทรง Flying V เรียกง่ายๆ ว่า V

4.ทรง Explorer เรียกสั้นๆ ว่า EX


5.ทรง Les Paul ชื่อของมันก็มาจากคนที่คิดมันขึ้นมาคือมือกีตาร์ที่ชื่อว่า Les Paul

6.ทรง SG gibson คิดขึ้นมา



7.ทรง Firebird-X

คราวๆก็มีเท่านี้แหละครับที่คนทั่วไปนิยมเล่นกันแต่ยังมีอีกหลายทรงที่เรายังไม่รู้เพื่อนๆก็ลองไปหาดูแล้วกันนะครับ กีตาร์แต่ละทรงนั้นจะเล่นในสไตล์เพลงที่แตกต่างกันครับ



ส่วนประกอบต่างๆของกีตาร์(Guitar)

    วันนี้จะมาพูดถึงส่วนประกอบต่างๆของกีตาร์น่าจะพูดไปตั้งนานแล้ว ฮ่าๆ คนที่ยังไม่รู้จะได้รู้ไว้ว่ากีตาร์ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนอะไรบ้างและเขาเรียกว่าอย่างไรเวลาเรียกจะได้เรียกถูกไม่อายคนอื่นเขา ฮ่าๆ





1.ส่วนหัว


1.1 ชุดลูกบิด โดยทั่วไปที่เราพบเห็นก็จะมี 2 แบบ ได้แก่แบบที่ตัวลูกบิดหันไปด้านหลังตั้งฉากกับตัวกีตาร์แกนหมุนสายเป็นพลาสติกซึ่งจะใช้กับกีตาร์คลาสสิก มีไว้เพื่อใช้หมุนตั้งเสียงกีตาร์


1.2 นัท บางคนอาจเรียกว่าหย่องหรือสะพานสายบน มันจะติดอยู่ปลายบนสุดของฟิงเกอร์บอร์ดเพื่อรองรับสายกีตาร์ให้ยกสูงจากฟิงเกอร์บอร์ด ซึ่งระยะความสูงของสายกับฟิงเกอร์บอร์ดดังกล่าวนี้เรียกว่า action มีความสำคัญมากเพราะถ้ามันตั้งความสูงไว้ไม่เหมาะสมแล้วจะทำให้การเล่นกีตาร์ลำบากมากคือถ้าระยะดังกล่าวสูงไปคุณต้องออกแรงกดสายมากขึ้นก็จะเจ็บนิ้วมากขึ้น แต่ถ้ามันตั้งไว้ต่ำไปก็จะทำให้เวลาดีดความสั่นของสายจะไปโดนเฟร็ตทำให้เกิดเสียงแปลก ๆ


2. ส่วนคอกีตาร์




2.1 คอกีตาร์
คือส่วนที่เราใช้จับคอร์ดเล่นโน๊ตต่าง ๆ มีความสำคัญมากสำหรับกีตาร์ก่อนซื้อคุณจะต้องดูให้ดีดังที่แนะนำในหัวข้อการเลือกซื้อกีตาร์ คอกีตาร์ควรจะทำมาจากไม้ มะฮอกกานี หรือไม้ ซีดา หลัการที่สำคํญที่สุดคือคอกีตาร์ต้องตรง ไม่มีรอยแตกของเนื้อไม้



2.2 fingerbord เป็นแผ่นไม้ที่ติดลงบนคอกีตาร์อีกชั้น เป็นตัวที่ใช้ยึดเฟร็ต หรือลวดลายมุกประดับต่าง ๆ และเราก็จะเล่นโน๊ตต่าง ๆ ของกีตาร์บนหน้าฟิงเกอร์บอร์ดนั่นเอง ที่นิยมใช้ได้แก่ ไม้ โรสวูด หรือไม้ อีโบนี ซึ่งมีเนื้อไม่แข็งเกินไป ส่วนใหญ่จะโค้งเล็กน้อยเพื่อให้เข้ากับนิ้วเวลาทาบบนคอ


2.4 มุกประดับ จุดประสงค์คือให้ใช้สังเกตตำแหน่งช่องกีตาร์ปกติจะฝังที่ช่อง 1,3,5,7,9,10,12,14,17,19,21 กีตาร์คลาสสิกจะไม่มีมุกประดับฝังบนหน้าฟิงเกอร์บอร์ดแต่จะฝังด้านข้างแทน แต่กีตาร์โฟล์คและกีตาร์ไฟฟ้าจะฝังไว้ทั้ง 2 ส่วน ทั้งนี้ขึ้นกับแต่ละผู้ผลิตจะออกแบบ โดยทั่วไปจะเป็นรูปวงกลม บาทีก็รูปข้าวหลามตัด หรือที่แพงหน่อยก็จะเป็นลายพวกไม้เลื้อย เลื้อไปตามหน้าฟิงเกอร์บอร์ด เพื่อที่เวลาเล่นเราจะได้รู้ว่าตอนนี้เราเล่นอยู่เฟรตไหนหรือว่าต้องเล่นเฟรตไหนต่อไปจะทำให้การเล่นง่ายขึ้น


2.5 ก้านเหล็กปรับแต่งคอ (Truss Rod) ในกีตาร์ที่อยู่ในระดับกลางขึ้นไปจะมีแท่งเหล็กฝังอยู่ตามความยาวคอกีตาร์ด้วยเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับกีตาร์ป้องกันการโก่งตัวของคอกีตาร์ ซึ่งสามารถปรับแต่งได้เมื่อคอกีตาร์เกิดโก่งงอไปแต่การปรับแต่งนั้นถ้าไม่ชำนาญอย่าไปทำครับอาจเกิดความเสียหายได้ควรให้ร้านกีตาร์ช่วยทำดีกว่าครับ


3. ส่วนลำตัวกีตาร์



3.1 ลำตัวกีตาร์ หรือ bodyหมายถึง 3 ส่วนได้แก่ ด้านหน้า ควรทำมาจากไม้ อัลพาย สปรูซ ด้านหลัง และด้านข้าง ควรเป็นไม้โรสวูด และที่สำคัญคือลักษณะของไม้ต้องไม่มีรอยแตก ไม่มีตาไม้และมีลายไม้ที่ละเอียดไปตามความยาวจึงมีคุณภาพดี ส่วนที่เว้าของ body บางทีเราก็เรียกว่าเอว


3.2 โพรงเสียง (sound hole) ก็คือรูกลม ๆ หรือบางทีก็ไม่กลม ที่อยู่บนด้านหน้าของ body นั่นเอง มีหน้าที่รับเสียงจากการสั่นของสายกีตาร์ทำให้เกิดเสียงก้องดังขึ้น ซึ่งอาจจะมีลายประดับต่าง ๆ อยู่รอบ ๆ โพรงเสียงเพื่อความสวยงาม บางทีจะมีปิ๊กการ์ดเพื่อที่จะป้องกันการขูดของปิ๊กไม่ให้กีตาร์เป็นรอย ในกีตาร์ไฟฟ้าไม่มีโพรงเสียงแต่จะเป็นปิ๊กอัพแทน


3.3 สะพานสาย (bridge) เป็นตัวที่ยึดสายให้ติดกับ body มักทำมาจากไม้โรสวูดหรือไม้อีโบนี ถ้าเป็นกีตาร์คลาสสิกจะเจาะรูในแนวขนานกับ body กีตาร์ 6 รูไว้ใช้พันสายกีตาร์ แต่ถ้าเป็นกีตาร์โฟล์คจะเจาะรูในแนวตั้งฉากกับ body และยึดสายด้วยหมุดยึดสาย สำหรับกีตาร์ไฟฟ้าจะทำจากโลหะเป็นส่วนใหญ่มีทั้งแบบธรรมดาคือมีหน้าที่ยึดสายอย่างเดียว และอีกแบบคือเป็นแบบคันโยกทั้งแบบเดิมและแบบใหม่ที่เรียกกันว่าฟรอยโรส


3.4 หย่อง (saddle) จะฝังหรือยึดอยู่กับสะพานสาย เพื่อรองรับสายกีตาร์ทั้ง 6 สาย มีทั้งแบบตรงสำหรับกีตารืคลาสสิก และแบบโค้งสำหรับกีตาร์โฟล์ค บางแบบก็แยกเป็น 2 ชิ้นแล้วแต่การออกแบบของแต่ละรุ่น บางรุ่นสามารถปรับความสูงของตัวมันได้ แต่ทั่ว ๆ ไปถ้าเรารู้สึกว่ามันสูงไปเราก็สามารถจะถอดมาแล้วใช้ตะไบหรือกระดาษทรายขัดที่ฐานของมันให้ความสูงลดลง แต่ถ้าต่ำไปก็หาอะไรมาหนุนให้สูงขึ้น


3.5 ปิคอัพ (pick up) โดยทั่วไปจะเห็นชัดบนกีตาร์ไฟฟ้ามากกว่าแต่ปัจจุบันกีตาร์โปร่งบางรุ่นก็มีการประกอบปิคอัฟไว้กับกีตาร์เลยเช่นประกอบไว้ที่ใต้บริดจ์หรือใต้หย่อง หรือเป็นปิคอัฟที่ซื้อมาประกอบต่างหากก็มี สำหรับกีตาร์ไฟฟ้าจะมีความสำคัญมากเพราะมันจะรับแรงสั่นสะเทือนของสายไปแปลงเป็นกระแสไฟฟ้าส่งไปยังแอมป์แล้วขยายเสียงต่อไปทำให้มนัสามารถปรับแต่งเสียงได้มากมายหลายรูปแบบ


3.7 สวิทช์เปลี่ยนปิคอัพ มักมีในกีตาร์ไฟฟ้าที่มีปิคอัพหลาย ๆ ตัว เช่น 2 หรือ 3 ตัว ใช้ในการเปลี่ยนไปใช้ปิคอัฟตัวต่าง ๆ ซึ่งเสียงก็จะให้เสียงต่างกันไปด้วยเช่นต้องการเล่น rythym อาจใช้ตัวกลางหรือตัวบนเมื่อจะ lead ก็เปลี่ยนมาใช้ตัวล่างที่ติดกับบริดจ์เพราะให้เสียงที่แหลมกว่าเป็นต้น


3.8 ปุ่มควบคุ่มเสียง โดยทั่วไปจะมี 2 ชุด คือชุดควบคุมความดังเบาเรียกว่า volume และชุดควบคุมเสียงทุ้มเสียงแหลมเรียกว่า tone


3.9 ช่องเสียบสายแจ็คไปยังแอมป์  ใช้เสียบแจ็คเพื่อต่อสายไปยังแอมป์หรือผ่านเข้ายังชุดเอฟเฟ็คต่าง ๆ


3.10 ที่ใส่สายสะพายกีตาร์  ไว้ใส่สายสะพายกีตาร์เวลายืนเล่น


3.11 ปิคการ์ด (pick guard) สำหรับกีตารคลาสสิกซึ่งมักไม่ใช่ปิคในการเล่นจึงไม่มีปิคการ์ด แต่กีตาร์โฟล์คมักใช้ปิคเล่นจึงมีปิคการ์ดไว้ป้องกันปิคขูดกับ body กีตาร์ทำให้กีตาร์เป็นรอย
ดูได้จากรูปด้านล่างครับ




ตารางคอร์อด(Chord)

วันนี้ก็เอา ตารางคอร์ด มาให้ดูกันเผื่อเป็นประโยชน์กับผู้ที่ไม่รู้ว่าคอร์ดไหนจับยังไงนะครับ





คราวหน้าก็จะเป็นพาวเวอร์คอร์ดนะครับที่เขาเอาไว้ใช้เล่นกับกีตาร์ไฟฟ้าเพราะถ้าใช้คอร์ดธรรมดาเล่นเวลาเราเปิดเอฟเฟคจะทำให้เสียงกีตาร์นั้นมันตีกันมั่วไปหมดจนฟังไม่รู้เรื่องเขาจึงมีการคิดพาวเวอร์คอร์ดขึ้นมา

การตั้งสายกีตาร์(Guitar)

    มาถึงการตั้งสายกีตาร์กันแล้วครับบางคนที่ยังมือใหม่อยู่ก็ให้คนที่เขาตั้งเป็นช่วยตั้งให้ก้ได้ครับแต่ฝึกตั้งไว้ก็ดีนะครับเพราะเวลาเราอยู่คนเดียวจะได้ตั้งเป็นบางคนที่เล่นเก่งๆก็ยังตั้งไม่เป็นเลยเพราะหูไม่ดีเราต้องรู้จักจดจำเสียงของตัวโน๊ตแต่ละตัวไว้ด้วยนะครับ และขอกล่าวไปถึงเรื่องสายกีตาร์ด้วยเลยแล้วกันนะครับ
วิธีรักษาสายกีตาร์ เวลาเล่นไปนานๆมันจะมีสนิมขึ้นเล่นไปได้ซักหนึ่งเดือนก็ควรเปลี่ยนสายใหม่ได้แล้วเพราะสายที่สนิมขึ้นมันจะทำให้เสียงเพี้ยนเล่นแล้วไม่เพราะ หรือถ้าอยากให้สนืมขึ้นช้าเวลาเราเล่นเสร็จก็ให้ใช้ผ้าแห้งเช็ดตามสายโดยรูดตามทีละสายไปเลยครับ เพราะเวลาเราเล่นมันจะมีเหงือจากมือเราทำให้เกิดสนิม


การตั้งสายนะครับ
แต่ละสายให้ตั้งตามนี้


1  E--------------------------------
2  B--------------------------------
3  G--------------------------------
4  D--------------------------------
5  A--------------------------------
6  E--------------------------------


 สายที่ 1 เทียบ 2
ให้ทำการกดสายที่ 2 เฟรตที่ 5 แล้วดีดสาย 2 กับ 1 พร้อมกัน
ลองฟังดูว่าเสียงที่เกิดขึ้นจาก 2 สายนี้เป็นเสียงเดียวกันหรือไม่
หากเป็นเสียงตรงกันไม่เกิดเสียงวน ก็แสดงว่าตั้งสายกีต้าร์ 2 สายนี้ตรงแล้ว


 สายที่ 2 เทียบ 3
ให้ทำการกดสายที่ 3 เฟรตที่ 4 แล้วดีดสาย 3 กับ 2 พร้อมกัน
ลองฟังดูว่าเสียงที่เกิดขึ้นจาก 2 สายนี้เป็นเสียงเดียวกันหรือไม่
หากเป็นเสียงตรงกันไม่เกิดเสียงวน ก็แสดงว่าตั้งสายกีต้าร์ 2 สายนี้ตรงแล้ว


สายที่ 3 เทียบ 4
ให้ทำการกดสายที่ 4 เฟรตที่ 5 แล้วดีดสาย 4 กับ 3 พร้อมกัน
ลองฟังดูว่าเสียงที่เกิดขึ้นจาก 2 สายนี้เป็นเสียงเดียวกันหรือไม่
หากเป็นเสียงตรงกันไม่เกิดเสียงวน ก็แสดงว่าตั้งสายกีต้าร์ 2 สายนี้ตรงแล้ว


สายที่ 4 เทียบ 5
ให้ทำการกดสายที่ 5 เฟรตที่ 5 แล้วดีดสาย 5 กับ 4 พร้อมกัน
ลองฟังดูว่าเสียงที่เกิดขึ้นจาก 2 สายนี้เป็นเสียงเดียวกันหรือไม่
หากเป็นเสียงตรงกันไม่เกิดเสียงวน ก็แสดงว่าตั้งสายกีต้าร์ 2 สายนี้ตรงแล้ว


สายที่ 5 เทียบ 6
ให้ทำการกดสายที่ 6 เฟรตที่ 5 แล้วดีดสาย 6 กับ 5 พร้อมกัน
ลองฟังดูว่าเสียงที่เกิดขึ้นจาก 2 สายนี้เป็นเสียงเดียวกันหรือไม่
หากเป็นเสียงตรงกันไม่เกิดเสียงวน ก็แสดงว่าตั้งสายกีต้าร์ 2 สายนี้ตรงแล้ว


ยังมีวิธีตั้งอีหลายวิธีนะครับ แต่วิธีนี้ผมว่าง่ายสุดเลยเอามาให้อ่านเผื่อเป็นประโยชน์นะครับผมมีตัวอย่างการตั้งสายของพี่ Boy Survival  จาก youtube มาให้ดูครับใช้ตั้งได้ทั้งกีตาร์ไฟฟ้ากีตาร์โปร่งเลย



ผมมีโปรแกรมช่วยตั้งสายกีตาร์ มาแนะนำให้ลองใช้กันสำหรับคนที่ยังตั้งไม่ค่อยเป็น
แต่เราต้องมีไมค์ก่อนเสียบไมค์กับคอมพิวเตอร์ของเราแล้วก็เอาไมค์จ่อที่กีตาร์แล้วก็ดีดไล่ทีละสาย
ให้ตรงตาม ข้างบน คือ E B G D A E โปรแกรมมันจะบอดเองว่าเป็นเสียงอะไร ใช้ง่ายๆครับลองดู

AP Guitar Tunner http://www.mediafire.com/?1ynojtiw1cj ไฟล์เล็กมากครับ
ขอบคุณโปรแกรมเขาด้วยครับดีจริงๆ


ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก
อ้างอิงค์ http://guitar.kaidown.com/guitar-tuner.php ด้วยครับ

การอ่านแท็ป(Tab)

    มาว่ากันถึงการอ่านแท็ปซึ่งการอ่านแท็ปนี้ถ้าศึกษาจนเข้าใจแล้วก็จะง่ายมากๆง่ายกว่าการอ่านโน๊ตอีกเชียวแหละซึ่งเขาคิดค้นขึ้นมาให้คนที่อ่านโน๊ตไม่เป็น แต่เราจะไม่รู้ว่าเสียงไหนอยู่ในระดับไหนต้องอาศัยการฟังเพลงว่าเมโลดี้เขาเป็นยังไงด้วยจะได้เล่นเพลงจากแท็ปได้อย่างถูกต้อง
มาเริ่มกันเลยครับ
แท็ปจะประกอบด้วย เส้น 6 เส้น 6 เส้นนั้นแทนสายกีตาร์ของเรานั่นเอง โดยสายที่ 1 คือเส้นที่อยู่บนสุด
นับลงมาจนถึงเส้นสุดท้ายคือ สายที่ 6


1 ---------------------------------------------- สายที่1
2 ---------------------------------------------- สายที่2
3 ---------------------------------------------- สายที่3
4 ---------------------------------------------- สายที่4
5 ---------------------------------------------- สายที่5
6 ---------------------------------------------- สายที่6


ตัวเลขที่อยู่บนสายกีตาร์ทั้ง 6 เส้นพูดง่ายๆก็คือตัวเลขนั้นจะแทนช่องที่เราต้องวางนิ้วลงไปแทนตัวอย่างครับ





เวลาดีดก็ดีดตามจำนวนมีกี่ตัวก็ดีดไปเท่านั้นแหละครับ โดยถ้าเป็นแท็ปบางที่เขาจะแบ่งมาเป็นช่องๆให้เราเข้าในได้ง่ายขึ้น1ช่องก็คือ1ห้องนั่นเองมีตัวเลยไม่เกิน8ตัวหรือโน๊ตไม่เกิน8ตัวนั่นเอง


1 I-2 2 ---I----------I-----------------------------
2 I---------I-4 4 4--I-----------------------------
3 I---------I----------I-----------------------------
4 I---------I----------I-----------------------------
5 I---------I----------I-----------------------------
6 I---------I----------I-----------------------------


ตัว I แทนเส้นแบ่งห้องนะครับ

การอ่านโน๊ต(Note)

    มาพูดถึงการอ่านโน๊ต กันบ้างนะครับเป็นเรื่องที่สำคัญอีกอย่างผมก็ไม่ค่อยจะชำนาญเรื่องนี้ซักเท่าไรแต่ก็ได้ไปหารวบรวมข้อมูลจากที่ต่างๆและสอบถามผู้ที่ชำนาญในเรื่องการอ่านโน๊ตก็จะสรุปไว้แบบง่ายๆแล้วกันนะครับ


ก่อนอื่นเราต้องรู้จัก Staff  กันก่อน
หรือที่เรียกว่าบรรทัด5เส้น นั่นเองครับ จะมีด้วยกัน5เส้นแบ่งเป็น4ช่อง
โดยเส้นบนสุดคือ โทนเสียงสูง
และเส้นล่างสุดคือโทนเสียงต่ำ





แล้วก็ยังสามารถเขียนโน๊ตให้เสียงสูงขึ้นไปอีกหรือต่ำลงอีกก็ได้โดยใช้เส้นน้อยหรือที่เรียกว่า Leger Line นั่นเองครับ





กุญแจซอล หรือ G Clef ใช้เรียกเป็นชื่อสากล เป็นเครื่องหมายที่กำหนดเสียงของตัวโน๊ตในบรรทัด 5 เส้น คือ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด ยึดกุญแจซอลเป็นหลัก ส่วนใหญ่จะใช้บันทึกโน๊ตที่มีระดับเสียงปานกลางถึงสูง





กุญแจฟาหรือ F Clef ใช้เรียกเป็นชื่อสากล เป็นเครื่องหมายที่กำหนดเสียงของตัวโน๊ตในบรรทัดห้าเส้น
คือ โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด เช่นกันกับกุญแจซอล แต่ยึดกุญแจฟาเป็นหลัก ใช้บันทึกเสียงระดับปานกลางถึงต่ำ







คอร์ดในกีตาร์จะตรงกับระดับเสียงต่างๆดังนี้


C     D     E    F     G       A    B    C
โด   เร    มี   ฟา  ซอล    ลา  ที โด 

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

การเล่นคอร์ดกีตาร์เบื้องต้น(Guitar basic)

    ก่อนที่จะเล่นกีตาร์นั้นเราจำเป็นต้องมีตัวกีตาร์ก่อน และต้องมีความมุ่งมั่นในการฝึกฝนสิ่งนั้นจึงจะสำเร็จเราต้องมีความมุ่งมั่นว่าจะต้องเล่นให้เป็นให้ได้ไม่ต้องถึงกับเก่ง มีความอดทน และต้องมีเวลาว่างไม่รบกวนการเรียน หรือเวลาทำงาน เพราะจะส่งผลเสียแก่ตัวเราได้ มีความรักในเสียงดนตรี ไม่ใช่เล่นเพื่อที่อยากจะโชว์ใครต่อใครว่าเราเก่ง เล่นเพื่อผ่อนคลาย สร้างความสนุกให้ผู้อื่นและตนเอง บางคนอาจจะชอบถามกันว่าทำไมเล่นแล้วเจ็บมือจัง ปวดมือ แล้วก็เลิกเล่น ทุกคนก็เคยผ่านจุกนั้นมาเหมือนกันแหละครับไม่ว่าจะเป็นมือกีตาร์ระดับโลกหรือใครก็ตามที่เล่นกีตาร์ก็เคยผ่านมาถ้าหากถอดใจเลิกเล่นไปก่อนแล้วมันจะสำเร็จได้อย่างไร

การจับปิ๊ก ขอยืมรูปมาจากเว็บอื่นนะครับ จับด้วยมือขวา


มาพูดถึงการเล่นเบื้องต้นก็คงหนีไม่พ้นเรื่องนี้

คอร์ดเบื้องต้น
คอร์ดนั้นเราสามารถหาดูในตามหนังสือเพลงหรือในเว็บต่างๆก็มีทั้งนั้นเริ่มแรกต้องหัดจากคอร์ดที่ง่ายๆเสียก่อนแล้วจึงยากขึ้นไปตามรำดับ คอร์ดที่จะและนำมีอยุ่ 4 คอร์ดเบื้องต้นด้วยกันซึ่งผมก้หัดจาก 4 คอร์ดนี้ C/Am/Dm/G7
ตัวอย่างการจับคอร์ดนะครับ ตัวเลขต่างๆก็คือช่องที่เราต้องวางนั้วลงไป ที่เป็นเส้นๆคือสายกีตาร์นับจากขวามือมาคือสาย 1 2 3 4 5 6 มี6สายครับ ที่เป็น x คือสายที่ไม่ต้องดิด ส่วน o ให้ดิดเป็นสายเปิดไปเลยสายเปิดคือสายเปล่านั่นแหละครับ




แนะนำให้ไปดูเว็บนี้คอร์ดเยอะมากๆอยากรู้คอร์ดอะไรก็หาได้เลยครับ


วิธีดิดนั้น ก็นับจังหวะเอาเองก็ได้ครับง่ายๆก่อนก็ดีดขึ้นนับไปคอร์ดละ 4 ครั้ง แล้วก็เปลี่ยนคอร์ด
เช่น เริ่มจากคอร์ด C ต่อด้วย Am นะครับ Dm แล้วก็ G7 ก็นับไป 1 2 3 4 แล้วก็วนไปเรื่อยๆจนชำนาญครับ
และถ้ายากขึ้นมาอีกนิดนึงสำหรับผู้เล่นใหม่
เริ่มจากคอร์ด C ต่อด้วย Am นะครับ Dm แล้วก็ G7 เหมือนเดิมครับแต่คราวนี้เราจะดีดขึ้นลง


ลองไปฝึกแค่นี้ก่อน แต่ถ้าเราไปเล่นเพลงจริงๆก็ต้องนับจังหวะเอาเองนะครับข้างบนเป็นเพียงจังหวะเบื้องต้นเพราะแต่ละเพลงนั้นจังหวะไม่เหมือนกัน ต้องฟังเพลงให้มากๆถึงจะจับจังหวะได้ลองไปหาเพลงง่ายๆฝึกกันดูนะครับเอาเพลงง่ายๆอาจจะเป็นเพลงที่เป็นคอร์ดวนเล่นซ้ำไปซ้ำมาก็ได้ครับลองไปหาฝึกกันดู

การเลือกซื้อกีตาร์(Guitar)

    วันนี้จะมาแนะนำการเลือกซื้อกีตาร์โปร่งสำหรับผู้ที่กำลังจะหัดเล่นกีตาร์โปร่งนะครับขอกล่าวไว้ก่อนว่าผมก็ไม่ใช่ผู้ที่เชี่ยวชาญด้านนี้สักเท่าไหร่นักแต่ผมก็เป็นคนนึงที่เล่นดนตรีชนิดนี้และเล่นมานานพอสมควรพอจะมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้อยุ่บ้างจึงเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่กำลังจะเลือกซื้อ


ข้อมูลบางส่วนอาจจะเป็นเนื้อหาจากเว็บอื่นๆบ้างที่ผมจะสรุปให้ในการเลือกซื้อ


1.เราต้องตรวจดูสภาพภายนอกของตัวกีตาร์ให้ดีเสียก่อน ว่าชำรุดตรงไหนหรือเปล่า ดูลูกบิดและตามส่วนต่างๆที่สามารถขึ้นสนิมได้ว่ามีสนิมอยุ่หรือไม่


2.สังเกตุดูคอกีตาร์ว่าโก่งหรือโค้งงอหรือไม่ ปกติคอของกีตาร์ก็จะโค้งมาข้างหน้านิดหน่อยเพราะเกิดจากการตึงของสายกีตาร์ทำให้ตัวคอโค้งตาม ถ้าโก่งมากๆผิดปกติอย่าไปเลือกนะครับ


3.ตรวจดูภายในตัวกีตาร์ข้างในว่างานข้างในเรียบร้อยหรือไม่ มีตรงไหนชำรุดไหมสังเกตุตรงคอข้างในด้วยว่ามีแท่งเหล็กค้ำอยู่หรือไม่แท่งเหล็กจะช่วยให้คอกีตาร์ไม่เบี้ยว


4.ทดสอบสายกีตาร์ด้วยการดิดตามเฟร็ตตามช่องทุกช่องว่ามีเสียงบอดหรือไม่ ไล่มาทุกช่องเคยนะครับตั้งแต่สาย 1- 6 เลย เพราะถ้าหากเรามาเล่นจริงๆไม่ตรวจสอบให้ดีตั้งแต่ตอนซื้อจะทำให้เราจับคอร์ดบางคอร์ดแล้วเสียงบอดได้จะไปขอเปลี่ยนเขาก็คงไม่ให้เปลี่ยนแล้ว


และที่สำคัญนั้นก่อนจะเลือกซื้ออะไรเราต้องมีความแน่ใจเสียก่อนว่าเราจะเอามันไปทำอะไรกีตาร์ก็เหมือนกันกีตาร์แพงไม่ใช่ว่าเราซื้อมาแล้วจะเล่นเก่งเลยทุกคนต้องมีการฝึกฝน


1.ต้องมีความรักที่จะอยากเล่น ไม่ใช่ตามกระแสอยากเล่นโชว์สาวๆต้องมีใจรักจริงๆแล้วคุณจะเก่งเอง


2.ระดับความสามารถทักษะต่างๆ หากซื้อกีตาร์มาแพงๆแล้วมาถอดใจไม่เล่นต่อทำให้เสียดายเงืยเปล่าๆขอแนะนำให้เลือกซื้อที่ไม่แพงมากเพื่อนำมาฝุกฝนก่อน เก่งแล้วค่อยซื้อแพงก็ได้


3.ความอกทนในการที่จะฝึกฝน ต้องแน่ใจว่าเราอยากเล่นจริงๆฝึกฝนให้เยอะๆแล้วซักวันคุณจะเก่งเองไม่มีใครเก่งมาแต่เกิด


4.สไตล์การเล่นของคุณด้วยเพราะกีตาร์จะมีหลายๆทรงให้เลือกซึ่งแต่จะทรงจะมีจุดเด่นจุดด้อยต่างกัน


5.เงินในกระเป๋าว่ามีพอที่จะเลือกซื้อกีตาร์หรือไม่ไม่จำเป็นต้องซื้อแพงมากเพราะเราซื้อมาฝึกฝนไม่ได้จะเอาไปประกวดหรือโชว์ที่ไหนขอย้ำอีกทีว่าเก่งก่อนค่อยซื้อของแพงก็ได้


6.และที่สำคัญควรมีผู้ให้คำปรึกษาด้วยเวลาไปเลือกซื้อก็ควรไปกับผู้ที่เลือกซื้อเป็นหรือมีความรู้ด้านนี้อยู่บ้าง